วันที่ลงข้อมูล :: 29/08/2024 :: ( 39 ผู้เข้าชม )
การเจ็บครรภ์คลอด จัดเป็นความเจ็บปวดที่รุนแรงที่สุดเท่าที่จะเกิดขึ้นในชีวิตหนึ่งของผู้เป็นมารดา ความทุกข์ทรมานช่วงดังกล่าว สามารถช่วยให้ผ่อนคลายลงได้บ้าง จากการฝึกสมาธิลมหายใจ การนวดคลึงบริเวณบั้นเอวและสันหลังการเอาใจไปจดจ่อที่เรื่องอื่นๆ การให้กำลังใจจากสามี และจากเจ้าหน้าที่พยาบาลในห้องรอคลอด ตลอดจนการให้ยาระงับปวดฉีดข้ากล้ามหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำในเวลาที่เหมาะสม ที่คะเนว่าจะไม่ส่งผลให้กดการหายใจของทารกตอนแรกคลอด
- เป็นการคลอดทางช่องคลอด โดยใส่สายเพื่อฉีดยาชาเข้าที่ช่องชั้นนอกของไขสันหลัง คุณแม่จะไม่ปวด ไม่ทรมาน ตลอดระยะเวลา 6-8 ชั่วโมง ของการคลอดลูกได้รับเลือดไปเลี้ยงเต็มที่เพราะเส้นเลือดไม่หดเกร็งตัว
- ลดโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้
- กรณีคลอดไม่ได้ต้องผ่าตัด สามารถทำได้ทันที โดยการเติมยาชาเพิ่ม ไม่ต้องใช้การวางยาสลบฉุกเฉิน ซึ่งเสี่ยงอันตรายต่อคุณแม่มากถ้าต้องทำสูติศาสตร์หัตถการ เช่น เครื่องดูดสูญญากาศใช้คีมช่วยคลอด ล้วงรกสามารถทำได้ โดยคุณแม่จะไม่เจ็บ กล้ามเนื้อช่องคลอดไม่หดเกร็งตัว
เป็นวิธีการช่วยให้มารดาไม่ต้องลำบากกับอาการปวดที่จะเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเป็นระยะๆ ทุก 2-3 นาที /ครั้ง และการหดรัดตัวแต่ละครั้ง จะนานราว 45-60 วินาที เป็นการปวดที่ตัวมดลูกตรงกลางๆ ท้องและปวดร้าวไปที่บั้นเอว ไปที่หัวเหน่าและหน้าขา การปวดเป็นพักๆ นี้เกิดขึ้นจากแรงบีบตัวเป็นระยะๆ ของมดลูกเพื่อช่วยให้ปากมดลูกขยายเพิ่มขึ้น
ในท้องแรก ปากมดลูกจะเปิด ประมาณ1.2 ซม./ชั่วโมง และปากมดลูกจะเปิดหมดใช้เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมง
ในท้องหลัง ปากมดลูกจะเปิด ประมาณ1.5 ซม./ชั่วโมง และปากมดลูกจะเปิดหมดใช้เวลา ประมาณ 4-6 ชั่วโมง
เมื่อปากมดลูกเปิดได้ 10 ซม. เท่ากับความกว้างของศีรษะเด็ก มารดาจะเกิดความรู้สึกอยากเบ่ง ซึ่งระยะเบ่งนี้โดยทั่วไป จะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที ทารกจึงจะคลอด
คือ วิธีการระงับปวดที่ได้ผลดีที่สุด ซึ่งเป็นวิธีการที่วิสัญญีแพทย์นำมาใช้เพื่อระงับปวด และสามารถใช้ต่อเนื่องไปจนถึงการผ่าตัดคลอด ในกรณีที่คลอดไม่ได้ทางช่องคลอด ขั้นตอนการทำจะเปิดเส้น ให้น้ำเกลือเข้าทางหลอดเลือดดำ ตรวจวัดความดันและชีพจรเบื้องต้น จากนั้นถ้าไม่มีข้อห้ามของการทำ แพทย์จะจัดท่าให้ผู้คลอดนอนตะแคง งอเข่าสองข้างขึ้นชิดหน้าอกให้ได้มากที่สุด เพื่อให้สามารถคลำช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลัง
ซึ่งจะเป็นช่องที่นำสาย Epidural Catheter ไปวางไว้ที่ Epidural space ภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับปวดในระหว่างทำ จากนั้นเมื่อทดสอบว่าสายที่ใส่เข้าไปนั้นอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วจึงจัดให้ผู้คลอดนอนหงาย และทำการเติมยาชาเข้าไปเป็นระยะๆ เพื่อทดสอบระดับของการระงับปวด ให้ได้ระดับที่ระงับปวดได้ถึงระดับสะดือ ระหว่างนั้นจะมีการวัดความดันเป็นระยะๆ ทุก 3 นาที x 5 ครั้ง และวัดทุก 5 นาที x 3 ครั้ง จากนั้น
วัดทุก 15 นาที เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะความดันต่ำ ซึ่งจะต้องรีบให้การแก้ไขทันที
ดังนั้นในขั้นตอนการทำจึงต้องการวิสัญญีแพทย์หรือสูติแพทย์ที่มีความชำนาญและผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี และยังต้องการทีมงานเพื่อช่วยเฝ้าระวังดูแล ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ในการตรวจวัดความดันเป็นระยะๆ ที่เหมาะสม รวมทั้งการที่แพทย์จะเลือกใช้ยาชาที่ออกฤทธิ์ให้เหมาะสมกับระยะการเจ็บครรภ์ของ ผู้คลอดเป็นรายๆ ไป ในปัจจุบันจัดเป็นวิธีการดูแลผู้เจ็บครรภ์คลอดที่ดีที่สุด แม้จะมีบ้างที่กล่าวอ้างว่าการบล๊อคหลังจะทำให้ปวดหลังตอนแก่ แต่โดยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการบล๊อคหลังและการปวดหลังตอนแก่เฒ่าเลย